เอาแค่ให้คนใช้ไม่เป็นสามารถนำไปเรียนรู้และแต่งรูปเองได้ก็พอ
ส่วนวิธีใช้นอกเหนือจากนี้ ถ้าอยากรู้ก็ถามมาล่ะกันครับ
เอาล่ะ มาเริ่มกันเลย
เริ่มจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาก่อน จะได้หน้าจอตามนี้
หลังจากนั้นให้ทำการ Import รูปที่เราจะปรับแต่งโดยเลือกเมนู
"Import photos from disk..."
หลังจากนั้นก็เลือกไฟล์รูปที่เราต้องการปรับแต่ง
เมื่อเลือกเสร็จก็จะได้หน้าจอตามรูปข้างล่างนี้
จากนั้นให้นำเม้าส์ไปกดที่คำว่า Develop ตามลูกศร
เมื่อกดเมนู develop แล้ว จะได้หน้าจอดังนี้
ต่อมาให้ไปคลิ๊กที่รูปที่อยู่แถบด้านล่างสุด เพื่อเลือกรูปที่จะทำการปรับแต่ง
ในการปรับแต่งรูปด้วยโปรแกรม Lightroom อาศัยการดู Histogram เป็นหลัก
ดังนั้นเราจึงควรมาทำความเข้าใจกับ Histogram กันก่อน
ขออธิบายแบบง่ายๆล่ะกัน
ด้านซ้ายของ Histogram คือสีโทนมืด ส่วนด้านขวาคือโทนสว่าง
เราจึงสามารถอาศัย Histogram ในการดูว่ารูปของเรามืดไปหรือสว่างไปได้นั่นเอง
ตัวอย่างในรูปจะเห็นว่ากราฟ Histogram นั้นเบ้มาทางด้านโทนมืด
แต่ก็ถูกแล้ว เพราะในรูปตัวอย่างนั้น แบ็คกราวน์ กับเสื้อผ้าของแบบ เป็นสีดำ
ดังนั้นการที่ Histogram เบ้มาทางด้านซ้ายจึงไม่ได้แปลว่ารูปมืดไปเสมอไป
ทีนี้ลองไปกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านซ้ายบน และด้านขวาบนของ Histogram ดู
เมื่อกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านขวาตามลูกศรสีแดง
จะเห็นว่ามีพื้นที่สีแดงโผล่ขึ้นมาในรูป พื้นที่นั้นคือพื้นที่ในส่วนของกราฟ
ที่ล้นด้านขวาสุดของ Histogram ไป หรือก็คือส่วนที่กลายเป็นสีขาว
จนเรามองไม่เห็นรายละเอียดใดๆในพื้นที่นั้นเลย
ตรงข้าม เมื่อกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านซ้ายตามลูกศรสีน้ำเงิน
จะเห็นว่ามีพื้นที่สีน้ำเงินโผล่ขึ้นมาในรูป พื้นที่นั้นคือพื้นที่ในส่วนของกราฟ
ที่ล้นด้านซ้ายสุดของ Histogram ไป หรือก็คือส่วนที่กลายเป็นสีดำ
จนเรามองไม่เห็นรายละเอียดใดๆในพื้นที่นั้นเลยเช่นกัน
ดังนั้นรูปถ่ายที่ดีคือรูปที่กราฟ ไม่ตกล้นไปทางด้านขวา
และด้านซ้ายของ Histogram มากจนเกินไปนั่นเอง
จากรูปตัวอย่าง Histogram ล้นไปทางด้านขวาเล็กน้อย
แต่ไม่ล้นไปทางด้านซ้ายเลย จึงเรียกได้ว่าเป็นรูปที่ความสว่างกำลังพอเหมาะ
ทีนี้มาดูที่แถบเครื่องมือด้านขวามือของรูป
ซึ่งจะขออธิบายแค่ Basic Tools ก็พอ โดยเครื่องมือต่างๆจะแบ่งออกเป็น
การปรับ White Balance สามารถปรับได้โดยใช้แถบเมนู Temp และ Tintโดยที่ Temp เป็นแถบที่ใช้ปรับเมื่อรูปมีโทนน้ำเงินหรือเหลืองผิดปกติ
ส่วน Tint เป็นแถบที่ใช้ปรับเมื่อรูปมีโทนเขียวหรือแดงผิดปกติExposure ใช้สำหรับเพิ่ม-ลด ความสว่างโดยรวมของภาพ
เหมือนการปรับรูรับแสงในกล้องถ่ายรูปRecovery ใช้สำหรับกู้รายละเอียดของพื้นที่ที่ล้นด้านขวามือ
ของ Histogram ให้กลับคืนมาFill Light เป็นการเพิ่มความสว่างในส่วนของเงามืดในภาพ
เทียบแล้วก็เหมือนกับการใช้รีเฟลกซ์เปิดเงาให้กับภาพBlack เป็นการเพิ่ม-ลดความเข้มในส่วนของเงามืดของภาพ Brightness เป็นการเพิ่มความสว่างให้กับภาพซึ่งจะแตกต่างกับการใช้
Exposure คือ Brightness จะมีผลกับบริเวณตรงกลางของ Histogram เท่านั้น
แต่ Exposure มีผลกับ Histogram ทุกส่วนContrast ใช้ปรับเพิ่ม-ลด Contrast ของภาพ
เมื่อเข้าใจเครื่องมือต่างๆแล้ว ก็มาลองแต่งรูปดูกันเลย
จากรูปตัวอย่าง ผมคิดว่าส่วนที่เป็นเงาของใบหน้ามันมืดไป
ผมเลยปรับ Fill Light เป็น 15
ต่อมาผมมองว่าส่วนที่เป็นเงามืดของเสื้อผ้าน่าจะเข้มกว่านี้
ผมเลยปรับ Blacks เป็น 4
(จะเห็นว่าส่วนที่เป็นพื้นที่สีน้ำเงินในรูปเพิ่มขึ้น)
ทีนี้ดูที่เสื้อ ผมมองว่ามันติดน้ำเงินนิดๆ ผมจึงปรับ white balance ตามค่าในรูป
คือ Temp +25 เพื่อแก้รูปติดโทนน้ำเงิน
และปรับ Tint -15 เพื่อไม่ให้รูปติดโทนเหลืองจนผิดธรรมชาติ
ก็จะได้สีผิวที่เข้มขึ้น และดูดีกว่าก่อนทำการปรับแต่ง
หลังจากนั้น เลื่อนแถบเครื่องมือลงมาจนถึงเครื่องมือ Tone Curve
ทำการปรับ contrast ของรูป
โดยคลิ๊กที่คำว่า linear แล้วเปลี่ยนเป็น medium contrast
ก็จะได้รูปที่ดูสวยขึ้นดังนี้
ลากแถบเมนูกลับขึ้นไป เพื่อให้ภาพดู soft ขึ้น
ให้ปรับ Clarity เป็น -25 ถึง -40 แล้วแต่ความชอบ
จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำรีทัชแบบง่ายๆ
เมื่อกดซูมรูปเข้าไปดู ก็จะเห็นร่องรอยไม่พึงประสงค์อยู่
ให้มากดเลือกเครื่องมือรูปวงกลม ตามลูกศร
และจะเห็นว่ามีวงกลมสีเทาโผล่ขึ้นมาในรูป
ปรับขนาดของวงกลมสีเทา ให้ใหญ่กว่าร่องรอยที่ต้องการลบเล็กน้อย
เสร็จแล้วก็จะมีวงกลมสีขาวอีกวงโผลขึ้นมา
ให้ลากวงกลมนี้ไปรอบๆ สังเกตุจนกว่าผิวในวงกลมสีเทาวงเดิมเรียบเนียน
เมื่อรีทัชเสร็จแล้ว ให้กดที่คำว่า close
เป็นอันว่าเสร็จไป 1รูป
จากนั้นก็ไปปรับแต่งรูปอื่นต่อไปตามวิธีการข้างต้น
เมื่อปรับแต่งครบทุกรูปแล้ว ก็ไปแถบด้านลางสุด กด Ctrl+A เพื่อเลือกทุกรูป
แล้วทำการเซฟรูปด้วยคำสั่ง export
จะมีหน้าจอขึ้นมาตามนี้ส่วนแรกคือ Folder ที่คุณจะเลือกเพื่อทำการเซฟรูป ส่วนที่สองคือ format ของรูปที่ต้องการจะเซฟ
ซึ่งปกติให้เลือกเป็น JPG และ color space เป็น sRGBส่วนที่3 เฉพาะกรณีที่คุณต้องการย่อรูปด้วยโปรแกรมนี้
แต่โดยส่วนตัวแล้ว แนะนำให้ย่อด้วย photoshop ดีกว่า
เมื่อเลือกทุกอย่างแล้วกด export ก็เป็นอันเสร็จเมื่อคราวก่อนได้เสนอวิธีใช้เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรมไปแล้ว
คราวนี้ก็จะขอเสนอเทคนิคเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ช่วยแต่งรูปได้เร็วขึ้น
ขั้นตอนแรกก็ Import รูปเข้ามาก่อน
เนื่องจากผมถนัดแต่งรูปในโหมด develop ก็ขอใช้โหมดนี้ในการอธิบายนะครับ
คลิ๊กที่โหมด develop ตามลูกศรก่อนเลย จะได้หน้าจอดังรูป
จะเห็นได้ว่ารูปนี้ติดโทนสีส้มมากเกินไป เราก็จะทำการแก้โดยการปรับ White Balance ของรูป
ซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบในการเสียเวลาปรับค่า temp และ tint ด้วยตนเอง
ดังนั้นในคราวนี้เราจะใช้เครื่องมือ White Balance Selector ที่รูปตัวดูดสีแทน
โดยวิธีการใช้เครื่องมือนี้ ให้กดที่ไอค่อนตัวดูดสีตามรูปตัวอย่าง
และนำไปคลิ๊กในรูปที่เราต้องการแต่งตรงบริเวณที่เป็นสีเทากลาง
ปัญหาก็คือ ไหนล่ะ สีเทากลางที่ว่า
เทคนิคในการหาสีเทากลาง (ตามแบบของผมเอง) คือดูที่สีดำหรือสีขาวในรูปแทน
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเสื้อสูทของแบบมีสีดำ ผมก็เอาตรงเสื้อสูทนี่แหละ
ขั้นแรกปรับรูปให้เป็นสี ขาว-ดำ โดยกดที่คำว่า Grayscale
จากนั้นปรับ exposure ขึ้นเยอะๆเลย ซึ่งสีดำเมื่อปรับให้สว่าง มันก็กลายเป็นสีเทา
จากนั้นนำเม้าส์ไปกดที่ไอค่อนตัวดูดสี แล้วนำไปคลิ๊กในรูปตรงจุดที่เป็นสีเทากลาง
ซึ่งก็คือจุดที่มีค่า R G B เท่ากัน อยู่ที่ประมาณ 50%
แต่ไม่ต้องถึงขนาด 50% เป๊ะๆ แค่มีค่าระหว่าง 45-60 ก็คือว่าใช้ได้แล้ว
เมื่อกดที่รูปแล้วก็จะเห็นว่า ค่า white balance เปลี่ยนไป
ทีนี้ก็ปรับค่า exposure ให้กลับลงมาที่ 0 เท่าเดิม
แล้วกดคำว่า color เพื่อให้รูปกลับมาเป็นรูปสี
จะเห็นได้ว่ารูปหลังจากทำการปรับมีสีที่ถูกต้อง ไม่ติดโทนส้มอีกต่อไป
จากนั้นก็ปรับแสง-เงาของรูปให้สว่างขึ้นตามความชอบ
จากรูปตัวอย่างข้างบน จะเห็นได้ว่าสีของรูปยังดูอ่อนไปอยู่
เราจึงจะปรับความเข้มของสีโดยใช้แถบเครื่องมือ Vibrance และ SaturationVibrance เป็นการปรับเพิ่ม-ลดความเข้มของสีให้กับสีที่ซีดในภาพเป็นหลัก
และจะไม่ค่อยมีผลกับสีที่สดอยู่แล้วSaturation เป็นการปรับเพิ่ม-ลดความเข้มของสีให้กับสีทุกสีในรูป
ดังนั้นแนะนำให้ปรับสีโดยใช้ Vibrance จะดีกว่า
เพราะจะได้สีที่เข้มขึ้นเป็นธรรมชาติมากกว่า
โดยในรูป ผมปรับ Vibrance เป็น +25 และ Saturation เป็น +5
แต่ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่านนะครับ ว่าจะปรับค่าเป็นเท่าไหร่
ก็เป็นอันว่าแต่งเสร็จไปได้ 1รูป ที่นี้ดูในแถบล่างสุด
จะเห็นว่ารูปอีก 3รูปถัดมา ถ่ายตรงที่เดียวกับรูปแรก
และตอนถ่ายมามีความสว่างเท่าๆกับรูปแรก
ดังนั้นเราก็จะต้องแต่งรูปอีก3รูปซ้ำใหม่ เหมือนกับตอนแต่งรูปแรก
กรณีนี้ ข้อดีของโปรแกรม lightroom ก็คือ สามารถแต่งรูปหลายรูป
โดยยึดค่าที่ทำการปรับแต่งตามรูปใดรูปหนึ่งได้นั่นเอง
ทำให้เราสามารถแต่งรูปได้เร็วขึ้น
เพราะไม่ต้องทำการปรับทีละรูปเหมือนใน photoshop
วิธีการก็แสนง่าย หลังจากแต่งรูปแรกเสร็จแล้ว
ให้กด Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกรูปในแถบด้านล่างสุดที่เหลือ อีก3รูป
จากนั้นก็มากดตรงคำว่า Sync
จะได้หน้าจอนี้ขึ้นมา ให้ทำเครื่องหมายถูก
ตรงค่าที่เราต้องการจะใช้ในการปรับแต่งกับรูปอื่นๆที่เหลือ
จากนั้นก็กด Synchronize
เพียงเท่านี้ รูปอีก3รูปที่เราเลือกไว้ก็จะถูกปรับแต่งตามค่าเหมือนกับรูปแรกทันที
เช่นกัน 3รูปต่อมาก็จะเห็นว่า ถ่ายมาสว่างเท่าๆกัน สีก็เพี้ยนเหมือนๆกัน
ดังนั้นเราก็สามารถปรับแต่งรูปที่เหลือ 3รูปนี้ได้
โดยแต่งแค่รูปเดียวตามตัวอย่าง
จากนั้นก็ทำการปรับรูปที่เหลืออีก2รูป โดยกด sync ทีเดียว ก็เป็นอันเสร็จ
สุดท้ายก็เซฟรูปทั้งหมดด้วยคำสั่ง export เป็นอันจบ
การที่โปรแกรม lightroom สามารถใช้คำสั่งแต่งรุปได้ทีละหลายรูปนี้เอง
ก็เป็นข้อดีที่ถือว่าสะดวกกว่า photoshop
แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าโปรแกรมนี้ดีกว่า photoshop นะ
ยังไงผมก็เห็นว่าถ้าทำการรีทัชรูป และย่อรูป
photoshop ก็ทำได้ดีกว่า lightroom อยู่ดี
ดังนั้น ถ้าคุณขยันหน่อย อยากได้รูปออกมาสวยจริงๆ
แนะว่าให้ใช้ให้เป็นทั้ง 2โปรแกรมครับ
ขอบคุณที่อ่านกันจนจบอีกครั้ง
คลิกโหลด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น